วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ความก้าวหน้าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

การวางแผนจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพื่อลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ในอดีตที่ผ่านมาข้อมูลด้านทรัพยากรกระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ และไม่ ทันสมัย ดังนั้นการน า เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการจัดการฐานข้อมูลที่ก้าวหน้าและทันสมัย มาช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ การบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ท าให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด อันเป็นที่สามารถยอมรับได้ โดยทั่วไป โดยเฉพาะการน าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีส ารวจข้อมูลระยะไกลมา ประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และระบบก าหนดต าแหน่งพื้นโลกด้วย ดาวเทียมมาช่วยในการ ตัดสินใจ ด้านการวางแผนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้เกิด ถาวรภาพแบบยั่งยืน ซึ่ง ปัจจุบันเป็นวิธีการที่เหมาะสมและใช้กันอย่างกว้างขวาง
เทคโนโลยีภูมิสำรสนเทศ
ภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการรวบรวมข้อมูล กรรมวิธีข้อมูล การวิเคราะห์ การแปลตีความหมาย การประมวลผล การเผยแพร่ และการใช้ข่าวสารภูมิศาสตร์ เพื่อให้เราสามารถสร้างภาพ และเข้าใจข้อมูลเชิงพื้นที่ของโลก(geospatial data) ที่เราอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี ทาให้ได้ข่าวสารที่ถูกต้อง และทันสมัย สามารถใช้ประกอบและสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยว กับการจัดการ บริหารด้านสาธารณะ และด้านการบริการเชิงธุรกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลเชิงพื้นที่ มีความหมายกว้างและครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ 1) ตาแหน่งที่อ้างอิงของโลกหรือตาแหน่งฐานที่ตั้ง 2) ลักษณะธรรมชาติ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ธรณีโครงสร้าง อุทกวิทยา เป็นต้น และ 3) วัฒนธรรม ได้แก่ แนวแบ่งเขตทางการเมือง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สามโนประชากร เป็นต้น ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าภูมิสารสนเทศเป็นวิทยาการที่สาคัญ สนับสนุนการตัดสินใจในด้านการบริการเชิงตาแหน่ง โดยนโยบายของรัฐบาลร้อยละ 80 เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัยก้าวหน้า ที่เรียกว่า เทคโนโลยีสามเอ็ส (3S) ได้แก่ RS, GIS และGPS เป็นองค์ประกอบที่สาคัญของภูมิสารสนเทศ โดยในปัจจุบันความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีข่าวสาร (IT) เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิ-ภาพมาก เมื่อได้น ามาผนวกใช้ร่วมกับข้อมูลภูมิสารสนเทศแล้ว สามารถที่จะบริหารการ จัดการแบบทันท่วงทีใกล้เวลาจริง (real time) และทั้งยังสามารถติดตามเหตุการณ์ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง อีกด้วย
ภูมิสารสนเทศ มีองค์ประกอบหลักที่ส าคัญ คือ เทคโนโลยีสามเอ็ส (3S) คือ RS เทคโนโลยีส ารวจ ข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ GIS ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์(Geographic Information System) เพื่อใช้ในการจัดการฐานข้อมูล และ GPS ระบบก าหนด ต าแหน่งพื้นโลกด้วยดาวเทียม (Global Positioning System) เพื่อหาต าแหน่งที่ถูกต้องบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส าหรับด้าน RS นั้นเป็นการพัฒนาดาวเทียม ดังกล่าวข้างต้น และระบบกรรมวิธีข้อมูล ดาวเทียม ซึ่งใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่ทันสมัย เช่น DLT และสามารถผลิตข้อมูลจ านวนมากได้อย่างรวดเร็ว เพื่อ รองรับความต้องการของผู้ใช้ที่หลากหลาย และต้องการข้อมูลในลักษณะ Near real time ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้ในการวางแผนจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยเป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการหรือบริหารทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมโยงกับต าแหน่ง ภูมิศาสตร์บนพื้นโลก ท าให้ทราบว่าจุดนั้นๆ มีสภาพทางกายภาพเป็นอย่างไร มีองค์ประกอบของสิ่ง ข้างเคียงอะไรบ้าง เป็นป่าไม้หรือ ที่เพาะปลูก หรือแหล่งชุมชน หรือแหล่งน้ า มีคุณภาพอย่างไร และมี การเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาอย่างไรบ้าง สามารถสร้างภาพจ าลองสามมิติให้มองเห็นภาพรวมอย่างชัดเจน เพื่อการวางแผนและติดตามประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยี GIS
    ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information Systems (GIS) คือ ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์ และแสดงผลการวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เห็นมิติและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา และประกอบการตัดสินใจในการปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี GIS
    การนำแผนที่มาใช้เพื่อการซ้อน ทับข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการศึกษาและการวิเคราะห์เป็นสิ่งที่ได้ทำมานานแล้ว Mcharg,I.L. สถาปนิกทางด้าน ทัศนียภาพชาวอเมริกันได้ใช้แผนที่ กระดาษในลักษณะที่ซ้อนทับกันบนกันบนโต๊ะที่มีแสงไฟส่องขึ้นมาในงานในการแสดงผลงานของเขา ชื่อ Design with Nature ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีผู้เปรียบว่าคล้ายกับการเล่นกีฬายิมนาสติกบนโต๊ะ (Light Table Gymnastics) การใช้ประโยชน์จาก แผนที่ในลักษณะนี้จะมีความยากลำบาก เมื่องานที่ต้องการ วิเคราะห์นั้นมีความซับซ้อนมาก
    ประมาณ ปี พ.ศ. 2503 ได้เริ่มมีการประยุกต์เอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการจัดการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ หน่วยงาน LUNRI (The Land Use and Natural Resources Inventory) แห่งมลรัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และหน่วยงาน CGIS (The Canadian Geographic Information System)ในประเทศแคนาดา เป็นสองหน่วยงานแรกที่ได้นำเทคโนโลยี GIS มาใช้ โดย เน้นการนำภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ร่วมกับแผนที่ต่างๆ เพื่อจัดทำคลังข้อมูลทางด้านทรัพยากร ข้อมูลเชิงพื้นที่ต่างๆ ที่ถูกจัดเก็บไว้ใน GIS ได้แก่ ข้อมูลทางด้านการเกษตร ข้อมูลเกี่ยวกับดิน ข้อมูล ป่าไม้ ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ป่า และข้อมูลทางธรณีวิทยา เทคโนโลยี GIS ได้รับความสนใจและได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี โดยที่มลรัฐนิวยอร์คให้ความสนับสนุนหน่วยงาน LUNRI สำหรับหน่วยงาน GISนั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลแคนาดา
    เทคโนโลยี GIS ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2504 เทคโนโลยี GIS สามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่อย่างไรก็ตามยังคงประสบปัญหา คือ อุปกรณ์และเครี่องคอมพิวเตอร์ต่างๆที่ใช้ในช่วงระยะเวลานั้น ยังไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะนำทางใช้ร่วมกับ GIS ไม่ว่าทางด้านประสิทธิภาพหรือราคาที่แพงมากปัญหาดังกล่าวเป็นส่วนที่กระตุ้นให้มีการปรับปรุงระบบและอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นแบบอย่างในการ พัฒนาเทคโนโลยี GIS ในระยะเวลาต่อมา
    ห้องปฎิบัติการด้าน  Graphic ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Haward University) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์แผนที่ โปรแกรมที่มีการพัฒนาขึ้นในระยะแรก ได้แก่ SYMAP, GRID และ IMGRID ซึ่งสามารถใช้ในการซ้อนทับข้อมูลแผนที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการทำด้วยมือ นอกจากนี้ระบบเหล่านั้นยังสามารถดัดแปลงมาใช้ในการจัดเก็บและจัคการข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำให้นักวางแผนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นครั้งแรก
    ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถนำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี GIS ได้รับการพัฒนาเป็นลำดับเรื่อยมา และในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยี GIS มาประยุกต์ใช้กับระบบงานด้านต่างๆ เช่นระบบงานการวางแผนการจัดเก็บภาษี ระบบงานการค้นหาเส้นทางที่เหมาะสม ระบบงานวิจัยด้านประชากรศาสตร์ ระบบงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ สำหรับในประเทศไทยเองก็มีการใช้งาน GIS หลายหน่วยงาน เช่น กรมแผนที่ทหาร องค์การโทรศัพท์ การไฟฟ้าฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงหน่วยงานเอกชนต่างๆที่เกี่ยวข้อง และมีการเรียนการสอนในสาขาวิชา GIS ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศอีกด้วย
ทำไมต้อง GIS
เนื่องจากชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ โดยทั่วไปจะมีความเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ไม่มากก็น้อย การตัดสินใจใดๆก็ตาม มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านภูมิศาสตร์เสมอ ดังนั้นเพื่อตอบคำถามที่ว่าทำไมต้อง GIS นั้นพอจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี GIS สามารถช่วยในการจัดการและบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ พร้อมทั้งทำให้สามารถเข้าใจในความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นรากฐานที่ดีในการตัดสินใจอย่างฉลาด
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในเทคโนโลยี GIS ทำให้ผู้ใช้สามารถลดเวลาที่ต้องเสียไปในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มาก เช่นเดียวกับการที่สำนักพิมพ์นำเสนอข่าวสารต่างๆ ผ่านทางมวลชนได้อย่างรวดเร็วและในราคาถูก เทคโนโลยี GIS ก็จะสามารถทำให้ข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นที่แพร่หลายและแพร่กระจายไปสู่ผู้ใช้ต่าง ๆ ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนของการผลิตการปรับปรุง และการเผยแพร่ข้อมูล
นอกจากนี้ เทคโนโลยี GIS ยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยเปลี่ยนวิธีการนำเสนอและการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงพื้นที่เหล่านั้น ข้อมูลเชิงพื้นที่นับว่าเป็นข้อมูลที่สามารถดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกับความต้องการด้านต่างๆได้ง่ายโดยการนำเสนอ เทคโนโลยี GIS เข้ามาช่วย
เมื่อเปรียบกับการใช้แผนที่กระดาษเห็นได้ว่าการใช้ GIS มีข้อได้เปรียบมากกว่า เป็นต้นว่า ความสามารถในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเชิงพื้นที่ให้มีความทันสมัยได้ง่ายกว่า หรือความสามารถในการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ประเภทต่างๆและเก็บไว้ในชุดเดียวกัน ความสามารถในการปรับข้อมูลเชิงพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงและนำมาผลิตเป็นแผนที่ ซึ่งสามารถผลิตฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่สามารถแสดงขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูล และทำให้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลบรรลุผลอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถวางแผนแล้วเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้โดยเปลี่ยนรูปแบบของการวิเคราะห์เป็นไปในแบบต่างๆซึ่งผลที่ได้จะสามารถนำเสนอในหลายรูปแบบ ในทางตรงกันข้าม การวิเคราะห์และการตรวจสอบข้อมูลโดยอาศัยการทำด้วยมือ จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงเมื่อผู้วิเคราะห์ต้องการนำเสนอผลงานในลักษณะเช่นนี้

ปัจจุบัน สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีนำมาใช้รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองมีอยู่สอดคล้องกับความต้องการทั้งด้านสังคมและการปกครอง ในสังคมที่ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนอย่างรวคเร็ว การเข้ามาของเทคโนโลยี GIS ประกอบกับระบบคอมพิวเตอร์ Hardware และ Software ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เทคโนโลยี GIS เป็นเรื่องกล่าวถึงฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติในการบริหาร และจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล เทคโนโลยี GIS ไม่ใช่เพียงแฟชั่นที่ผ่านไป แต่เทคโนโลยี GIS เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง หรือที่ได้เปลี่ยนแปลงไปได้ในทุกวันนี้


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information Systems (GIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System (GIS) นั้นได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลาย เช่น
     1. TYDACT Technologies Inc. (1987) : “Geographic Information System are software packages which can be use to create and analyze spatial information with such systems, maps, air photos and diagrams describing natural and man make features can be translated into an electronic code which can be recalled, modified and analyzed”
     2. หนังสือ Geographic Information Systems An Introduction Second Edition : “Geographical information system (GIS) is now used generically for any computer-based capability for geographical data. A GIS computer-based capability for the manipulation of geographical data. A GIS includes not only hardware and software, but also the special devices used to input maps and to create map products, together with the communication systems needed to link various elements”
     3. ข้อมูลจาก www.oepp.go.th : GIS คือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จัดการเกี่ยวกับข้อมูลและข่าวสาร ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเสนอผลลัพธ์ข้อมูลเชิงซ้อนทั้งหมด ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ตามต้องการ ทั้งนี้โดยอาศัยลักษณะทางภูมิศาสตร์สัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวสารต่างๆ
     4. ข้อมูลจาก www.khonkaen.go.th/gis/gis8.htm : GIS หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการนำเข้าจัดเก็บจัดเตรียมดัดแปลงแก้ไข จัดการและวิเคราะห์พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆที่ได้กำหนดไว้ดังนั้น GIS จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการ และบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของข้อมูล และการผสานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) หรือข้อมูลทุติยภูมิ(secondary data) เพื่อให้เป็นข่าวสารที่มีคุณค่า
     5.ข้อมูลจาก rsgis.rs.psu.ac.th : GIS คือ ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์ และแสดงผลการวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เห็นมิติและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา และประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่
     6. ข้อมูลจาก www.gmt.co.th : GIS ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ "ระบบสารสนเทศ" (Information System) และคำว่า "ทางภูมิศาสตร์" (Geographic Geographical) ระบบสารสนเทศ เป็นการปฏิบัติการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน สามารถสืบค้นข้อมูลที่ต้องการได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว สามารถนำข้อมูลที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารในการปฎิบัติงานใด ๆ เปรียบเสมือนเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริหาร ภูมิศาสตร์ (Geographic) มาจากรากศัพท์ Geo หมายถึงโลก และ Graphic หมายถึงงานเขียน ดังนั้นการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับโลกจะอยู่ในรูปแผนที่ ในอดีตการเก็บรวบรวมข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบกระดาษ ดังนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จึงเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อใช้รวบรวม จัดเก็บ ค้นหา แสดงผล และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบที่จัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ให้อยู่ในรูปแผนที่เชิงเลข (Digital Map)
     7. ข้อมูลจาก www.bhu.go.th : GIS เป็นระบบข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานภาระหน้าที่ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ และนำผลของการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในงานนั้นๆได้ ตัวอย่างเช่น นักวางแผนด้านผังเมือง อาศัยข้อมูลเชิงแผนที่ ข้อมูลด้านการพัฒนาที่ดิน ข้อมูลด้านการวางผังเมือง มาวิเคราะห์ร่วมกัน ให้ได้ผลการวิเคราะห์ ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการวางผังเมืองได้ หรือตัวอย่างเช่น นักระบาดวิทยา อาศัยข้อมูลเชิงแผนที่ ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ข้อมูลป่า แหล่งน้ำ ข้อมูลการป่วยเจ็บ ข้อมูลความหนาแน่นของประชากร ฯลฯ มาวิเคราะห์ร่วมกัน ให้เกิดผลการวิเคราะห์โรคในแต่ละพื้นที่ สามารถทำนายการเกิดโรคได้ และ ใช้เป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
     8. ข้อมูลจาก www.stschool.ac.th. : GIS เป็นระบบที่ใช้ Computer เก็บรวมรวมประมวลผล และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และการควบคุมภายในองค์กรข่าวสาร (Information) ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลหรือปรุงแต่ง เพื่อให้มีความหมายเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูล (Data) ข้อเท็จจริงที่ได้รับการรวบรวมหรือป้อนเข้าสู่ระบบกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ชนิด (ต้องเก็บข้อมูลให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น) การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Process) การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศบางระบบ ต้องการตอบสนอง (Feedback) ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล แล้วถูกส่งกลับไปยังส่วนการนำเข้าข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง สารสนเทศที่เป็น Output ของระบบหนึ่ง อาจเป็น Input ของอีกระบบหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (Organization) องค์กรบางแห่งในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้ก็เพราะมีระบบสารสนเทศที่ดี
     9. สำนักงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรของชุมชน : GIS คือ ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์ และแสดงผลการวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เห็นนิมิตและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา และประกอบการตัดสินใจในปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่
     10. Federal Interagency Coordinating Committee (1988) : GIS เป็น ระบบของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บ การรักษา การจัดทำ การวิเคราะห์ การทำแบบจำลอง และการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อนแก้ปัญหาการวางแผนที่ซับซ้อน และปัญหาในการจัดการ

ทำไม ? ต้อง GIS


เพราะชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ จะมีความเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ไม่มากก็น้อย การตัดสินใจใดๆ ก็ตามมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านภูมิศาสตร์เสมอ GIS สามารถช่วยในการจัดการและบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ พร้อมทั้งให้สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นรากฐานที่ดีในการตัดสินใจอย่างฉลาด ช่วยลดเวลาที่เสียไป นอกจากนี้ เทคโนโลยี GIS ยังมีข้อได้เปรียบมากในเรื่องการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเชิงพื้นที่ให้มีความทันสมัยได้ง่ายกว่า หรือความสามารถในการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ประเภทต่างๆ และเก็บไว้ในชนิดเดียวกัน ความสามารถในการปรับข้อมูลเชิงพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงและนำมาผลิตแผนที่

องค์ประกอบของ GIS
แบ่งออกได้เป็น 5 ระบบใหญ่ๆดังนี้
     1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์,จอภาพ,สายไฟ เป็นต้น
     2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการเช่น MS-DOS,MS-WINDOWS, Word เป็นต้น
     3. บุคลากร (Peopleware)คือ ผู้มีหน้าที่จัดการให้องค์ประกอบทั้ง 4 อย่าง ข้างต้น ทำงานประสานกันจนได้ผลลัพธ์ออกมา
     4.วิธีการปฏิบัติงาน(Process) คือขั้นตอนการทำงานซึ่งเราเป็นผู้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์จัดการกับข้อมูล เช่นกรอกข้อมูลทุกวันและทราบผลลัพธ์ทันทีเป็นต้น
     5. ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นผลลัพธ์ออกมาเช่นชื่อ-สกุล ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น